ชนิดของข้อมูลแบ่งตามแหล่งที่มาของข้อมูล

Posted on Updated on

ข้อมูลแบ่งตามแหล่งที่มา มี 2 ชนิด คือ

  1. ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data)

ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูลขั้นต้นที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลนักเรียนได้มาจากการตอบแบบสอบถาม การสำรวจ การสัมภาษณ์ การวัด การสังเกต การทดลอง ข้อมูลสินค้าที่ได้จากการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด ข้อมูลบัตรเอทีเอ็มที่ได้จากเครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย และปัจจุบันมากกว่าข้อมูลทุติยภูมิ

98

  1. ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data)

ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว โดยมีผู้หนึ่งผู้ใด หรือหน่วยงานได้ทำการ เก็บรวบรวมหรือเรียบเรียงไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้เลย เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากรสามารถอ้างอิงได้จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ข้อมูลปริมาณน้ำฝนจากกรมชลประทานล ข้อมูลทางสถิติต่าง ๆ ที่มีการบันทึกไว้แล้ว ข้อมูลจากรายงานการวิจัย และบันทึกการนิเทศการที่จะตัดสินใจว่าข้อมูลไหนเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือข้อมูลทุติยภูมินั้น มีหลักสังเกต คือ ถ้าเป็นข้อมูลปฐมภูมิจะต้องเป็นข้อมูลที่ผู้เขียนหรือผู้ประเมินผลได้พบเหตุการ์ณต่าง ๆ ลงมือสำรวจศึกษาค้นคว้าหรือ เป็นการแสดงความคิดเห็นเริ่มแรกด้วยตัวเอง มิได้คัดลอกมาจากผู้อื่น แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่ได้คัดลอกมาจากบุคคลอื่น แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ ถือว่าเป็นข้อมูลทุติยภูมิ

audit

 มุมนักคิด

ข้อมูลใดเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ

  1. รายชื่อดอกไม้จากสารานุกรม
  2. ราคาสินค้าจากการอ่านบาร์โค้ด
  3. ความคิดเห็นของผู้ใช้สินค้าจากแบบสำรวจ
  4. คุณภาพอากาศประจำเดือนจากกรมควบคุมมลพิษ
  5. รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

ลักษณะของข้อมูลที่ดี ต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

  1. มีความถูกต้องและแม่นยำ
  2. มีความเป็นปัจจุบันและทันสมัยอยู่เสมอ
  3. มีความกระชับ ชัดเจน และสมบูรณ์ครบถ้วน
  4. สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้

ปราศจากความลำเอียงหรืออคติ

ใส่ความเห็น